23/6/59

ตะข้อช้าง คชกุศ

คชกุศ หรือ ตะขอช้าง เชื่อกันอาถรรพ์ เป็นของขลัง สะกดอาคม



            คชกุศ เป็นของ ศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันในหมู่ ผู้ศึกษาพระเวทย์ที่รู้ลึกรู้จริงว่า เป็นของมงคลที่หาได้ยากยิ่งและ มีอานุภาพสูงหลายประการคือ เป็นของ โภคทรัพย์ จากการเป็นของหมายถึงการเกี่ยวการเหนี่ยวรั้งไว้ อีกประการคำว่าขอก็คือได้ เป็นคำมงคล หากนำมาไว้ที่บ้านยังเป็นของคุมอาถรรพ์ด้วยเชื่อว่า มีอานุภาพ บังคับทุกสิ่ง ให้เป็นไปในทางดี ไม่ก่อกำเริบเดือดร้อน หากผู้มีวิทยาคุณอื่นจะมาลองวิชาก็มักแพ้ภัยตัวเองไป เพราะอำนาจ เหล็ก คชกุศ สะกดอาคมไว้มิให้แสดงฤทธิ์ได้นั่นเอง รวมถึงดีในทางควบคุมคนให้อยู่ในอำนาจด้วย






           คชกุศขอช้างถือเป็นเครื่องรางมงคล 1 ใน 8 สิ่งมงคลของศาสนาพราหมณ์ เพราะคชกุศเป็นเทพศาสตราชนิดหนึ่งของพระพิฆเณศวร ในตำราเก่าแก่ได้กล่าวไว้ว่า คชกุศนั้นใช้ในการควบคุมตัวกิเลสให้อยู่ในที่ตั้ง เป็นศาสตราวุธประจำตัวพระพิฆเณศวรที่สามารถทำลายอุปสรรค ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างให้พ้นทาง ในตำราเรื่องป่าหิมพานต์เล่าว่า สมัยครั้งแต่ก่อนนั้นภายในป่าหิมพานต์ ได้มีช้างนิสัยดุร้ายเกรี้ยวกราดมีฤทธิ์เดชมาก ชื่อเอกทันต์ ได้สร้างความเกะกะ ละลานให้กับเหล่ามนุษย์ เทวดา ให้อยู่แบบไม่มีความสุข เรื่องร้อนถึงพระอิศวร พระอิศวรจึงมีรับสั่งให้ พระนารายณ์ลงไปกำราบช้างเอกทันต์ เมื่อพระนารายณ์ลงมายังป่าหมพานต์ช้างเอกทันต์ตกใจจึงได้พยายามหลบหนี เพราะกลัวฤทธิ์ของพระนารายณ์ที่มีมากกว่าตน เมื่อพระนารายณ์ตามหาช้างเอกทันต์จนพบจึงให้บ่วงบาศคล้องช้างเอกทันต์เอาไว้ แต่เกิดปัญหาเพราะบริเวรที่จับช้างเอกทันต์เป็นทุ่งกว้าง ไม่สามารถหาต้นไม้ผูกช้างได้ จึงปักตรีศูรลงไปในดินและเสกให้ตรีศูลกลายเป็นต้นมะตูมยักษ์แล้วผูกช้างเอกทันต์กับต้นมะตูมใหญ่นั้น จนคลายความพยศ แล้วได้หักกิ่งต้นมะตูมเสกเป็น คชกุศ บังคับนำช้างเอกทันต์เข้าพบพระอิศวร ต่อมาได้ทรงมอบคชกุศอันนั้นให้กับพระพิฆเณศวรให้เป็นอาวุธประจำกาย พลังอำนาจของคชกุศนั้นดีเด่นทางด้าน พลังอำนาจเป็นมหาปราบ กันแก้คุณไสยและอาถรรพย์ ภูติผีปีศาจ พร้อมประทานโชคลาภให้กับผู้บูชา






(ตะขอที่ใช้งานอยู่มีประสิทธิภาพมากกว่าตะขอที่ทิ้งไว้หรือที่มำใหม่ๆ ยิ่งถ้าได้ใช้กับช้างตกมันที่ฆ่าคนมาแล้วยิ่งมีพลังมาก)

หากช่วงกลางคืนบ้านไม้มีเสียงดังอ๊อดแอ็ด ให้เอาตะขอสับกับเสาบ้านไว้กันภูติผีได้