14/6/59

กระชายดำ

กระชายดำ
ชื่อว่าน : ว่านกระชายดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆ : ว่านจังงัง, ว่านกำบัง, ว่านกำบังภัย, ว่านพญานกยูง, ว่านกั้นบัง
ลักษณะ
ไม้ล้มลุกมีลำต้นเป็นปุ่มปมอยู่ใต้ดิน ลักษณะทั่วไปเหมือนกับกระชาย ต่างกันที่เนื้อในหัวของว่านกระชายดำจะมีสีม่วง เมื่อหัวเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงสีดำ มีกลิ่นหอมอ่อน ผิวเปลือกด้านนอกสีเหลือง
ใบเดี่ยวรูปรี แทงก้านขึ้นมาจากหัวใต้ดินสีเขียวสด ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิวใบเป็นร่องคลื่นตลอดใบตามแนวเส้นใบ โคนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ ขอบก้านใบมีสีแดงอ่อนตลอดความยาวก้าน กลางก้านเป็นร่องลึก
ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดบริเวณซอกก้านใบ ดอกย่อยสีขาวแต้มชมพูอ่อน ริมปากดอกมีสีขาว มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อมีขน ดคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน
ประโยชน์/สรรพคุณ
หัวว่านช่วยเพิ่มกำลังทางเพศและเป็นยาบำรุงกำลัง ใ้ช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง เป็นยาเจริญอาหารและบำรุงธาตุ แก้ใจสั่นหวิว แก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก แก้แผลในปาก แก้ฝีอักเสบ แก้กลากเกลื้อน ขับปัสสาวะพิการ แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดมวนในท้อง ท้องเดิน แก้ซางตานขโมยในเด็ก นำหัวว่านมาหั่นเป็นแว่น ตากแดดให้แห้ง บดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นยาลูกกลอน กินเช้าเย็น เป็นยาอายุวัฒนะ ให้คุณค่าทางคงกระพันชาตรี นิยมอมหัวว่าน
แก้กามตายด้าน
หัวกระชายดำสดนำมาดองกับสุราขาว และน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน กระชายดำ 1กก./เหล้าขาว 3 ขวด / น้ำผึ้งแท้ 1 ขวด ดองทิ้งไว้ 9-15 วัน (3 วันเป็นเหล้า 9 วันเป็นยา) ดื่มวันละ 1-2 เป๊ก จะทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ช่วยลดอาการกามตายด้าน และบำรุงกำหนัด
วิธีปลูก
ดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำท่วมขัง แสงแดดรำไร โดยธรรมชาติกระชายดำชอบขึ้นตามร่มไม้ ในป่าดิบ และป่าเบญพรรณทั่วไป ใช้ส่วนที่เป็นเหง้าหรือหัวในดินที่แก่นำมาปลูก ปลูกในช่่วงฤดูฝน มิ.ย.-ก.ค