11/1/59

ว่านขุนแผนสะกดทัพ

ว่านขุนแผนสะกดทัพ
ชื่อว่าน : ว่านขุนแผนสะกดทัพ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Zephyranthes grandiflora Lindl.
ชื่อวงศ์ : AMARYLLIDACEAE
ชื่ออื่นๆ : บัวดิน, บัวสวรรค์ลักษณะ
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน หัวแบบเดียวกับหัวหอม รูปไข่ถึงรูปรี เปลือกภายนอกเป็นกลีบห่อหุ้มกันเป็นชั้นๆ เนื้อในสีขาว หัวแก่มีเยื่อสีน้ำตาลหุ้มโดยรอบ เมื่อลอกออกจะเห็นข้างในสีม่วง และจะมีหน่ออ่อนเจริญขี้นมาสามารถนำไปปลูกเป้นต้นใหม่ได้
ใบเดี่ยวขนาดเล็กยาว รูปเข็มขัดสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบแหลมโค้งอ่อนลง โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้นไว้
ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกย่อยสีชมพู มี 6 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป้น 6 แฉก เกสรดอกสีส้ม ออกดอกในช่วงฤดูฝน หัวมีสีน้ำตาล
ประโยชน์/สรรพคุณ
แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ธาตุพิการ กินหัวบำรุงธาตุ เป็นว่านคงกระพันชาตรี พกพาติดตัวเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัยวิธีปลูก
ดินปลูกเป็นดินร่วน หรือดินท้องนาที่สะอาด ผสมด้วยทรายละเอียด หรือทุบอิฐดินเผาเก่าๆ ให้ละเอียดผสมดินและทราย นำหัวว่านวางกลบดินไม่ต้องแน่น รดน้ำพอเปียกอย่าให้แฉะ เวลารดน้ำสวดด้วยคาถา "นะโม พุทธายะ" 3 จบ

5/1/59

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องว่าน

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องว่าน
กำเนิดว่านและความเชื่อ

    ว่านเป็นพืชที่เกิดขึ้นโดยการวิวัฒนาการตามธรรมชาติเช่นเดียวกับบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่สามารถสืบสาวราวเรื่องได้ว่า ว่านชนิดใดเกิดตั้งแต่เมื่อใด เท่าที่ปรากฏในตำราสมุดข่อย ซึ่งได้เป็นมรดกตกทอดกันต่อ ๆ มา ตั้งหลายชั่วอายุคนแล้วนั้น ปรากฏ ในหนังสอตำราของอาจารย์เลื่อน กัณหะกาญจนะ กล่าวว่า
ตำหรับว่าน
    “สิทธิการิยะ ยังมีพระฤาษี 4 องค์ในผืนแผ่นดินนี้ มีฤทธาอานุภาพยิ่งกว่าบรรดาโยคีและฤาษีทั้งปวง ทั้ง 4 องค์นี้มีนาม กะวัตฤาษีองค์หนึ่ง กะวัตพันฤาษีองค์หนึ่ง สัพรัตถนาถฤาษีองค์หนึ่ง จังตังกะปิละฤาษีอีกองค์หนึ่ง พระฤาษี 2 องค์ใน 4 องค์นี้ ได้ให้ธาตุทั้ง 4 ตั้งอยู่บน อธิบดีแก่บรรดาสรรพสิ่งทั้งปวง ส่วนท่านฤาษีองค์ที่ 4 คือท่านจังตังกะปิละนั้น ได้ตั้งบรรดากบิลว่านต่าง ๆ ขึ้นไว้สำหรับท้าวพระยาทั้งปวงอันรู้จักคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสงฆ์รัตนะ ทั้งยังรู้จักอดกลั้นต่อบรรดาอกุศลกรรมทั้งหลายอีกด้วย เพื่อสำหรับท้าวพระยา และสมณีชีพราหมณ์ทั้งปวง จนได้รู้จักสรรพคุณและสารประโยชน์จากว่านต่างๆ เหล่านั้นไปช่วยบำบัดโรคภัยไข้เจ็บและช่วยปกป้องผองภยันตรายทุกข์ภัยนานาประการแก่ผู้เฒ่าผู้แก่แลคนทั้งปวงทั่วกัน” ตามที่กล่าวนี้แสดงว่า ได้เคยมีการรวบรวมบรรดาว่านต่าง ๆ เข้าเป็นหมวดหมู่ สำหรับสั่งสอนประชาชนต่อ ๆ มาให้รู้จักถึงชนิดว่าน ลักษณะและสรรพคุณ หรือประโยชน์ของว่านมาแล้วในอดีต ทั้งแสดงว่าการกระทำอย่างนี้ ได้กระทำในสมัยเมื่อพระพุทธศาสนาได้เกิดมีแล้ว คือ ไม่นานเกินกว่า 2500 ปีมานี้เองอย่างแน่นอน
โดยปกติพระฤาษีหรือท่านผู้ทรงวิทยาคุณขลังต่างๆ ย่อมพำนักอาศัยอยู่ตามป่าสูงหรือในถ้ำตามภูเขา ฉะนั้นบรรดาชนชาวป่าชาวดอยที่มีถิ่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง จึงพลอยได้รับความรู้ ในเรื่องว่านยาจากท่านเหล่านั้นเองและคงรักษาความรู้ได้ด้วยการบอกเล่าสืบทอดต่อมาจนทุกวันนี้การนับถืออิทธิฤทธิ์ของว่านจึงยังคงมีแพร่หลายอยู่เฉพาะในหมู่ชนชาวป่าชาวดอยเหล่านั้นตลอดมาจนบัดนี้ ได้แก่พวกกะเหรี่ยง, ละว้า, ข่า, ขมุ, ยาง, แม้ว, เย้า, ซอง, ต้องสู้เขมรและลาวที่อยู่นอกๆ เขตชุมนุมออกไป ถึงในเมืองไทยเราตามแถวชาวชนบทชั้นนอกๆ ก็ยังคงมีผู้เลื่อมใสเชื่อถือในอภินิหารของว่านอยู่อีกไม่น้อยเหมือนกัน ซึ่งในขณะนี้การนิยมปลูกว่านได้เริ่มมีบทบาทกันอย่างมากมาย นิยมแสวงหาว่านนำไปปลูกไว้ในบ้านและสถานที่ท่างาน, ร้านค้า ธนาคาร โดยเชื่อถือนิยมตามกัน เป็นมรดกตกทอดถึงกับมีการค้าขายว่านกันขึ้นเป็นอาชีพ เป็นต้น
อิทธิฤทธิ์ของว่าน
            ว่านต่างๆ มีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยไปกว่าเวทย์มนต์พระคาถาเหมือนกันโดยสามารถป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้ เช่นอยู่ยงคงกระพันชาตรี คือใช้ของมีคมเช่น มีดฟันถูกร่างกายแล้ว ไม่เข้าเป็นบาดแผลตามปรกติทั่ว ๆ ไป อย่างมากเป็นเพียงรอยขีดบนผิวหนังเล็ก ๆ มีเลือดออกซิบ ๆ หรือบวมนูน เพราะรอยถูกฟันอย่างแรงให้แลเห็นเท่านั้น หรือใช้ปืนยิงมา ก็ทำให้ยิงไม่ดัง ไม่มีลูกปืนออกมาถูกตัว หรือถ้ามีเสียงหรือมีลูกปืนออกมา ก็แคล้วคลาดไม่กระทบถูกร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใด หรือถ้าหากกระทบถูกต้องร่ายกายก็ไม่มีบาดแผลปรากฏแก่ร่างกาย นอกจากแก่เสื้อผ้าที่สวมใส่ เป็นรอยถูกกระสุนไหม้เกรียม หรือเป็นรูขาดเท่านั้น เมื่อกินว่านเข้าไปแล้วทำให้มีกำลงเกิดขึ้นมากมาย มีใจฮึกเหิมไม่หวาดกลัวต่อบรรดาศาสตราวุธทั้งปวง สามารถต่อสู้เอาชนะคนหมู่มากที่รุมล้อมได้ ว่านบางชนิดทำให้คนปรกติดี ๆ ที่ไปถูกเข้า ถึงกับเป็นง่อยเปลี้ยเสียขาไปก็มี บางชนิดมีพิษทำให้ถึงกับตายบ้างก็มี บางชนิดทำให้เกิดเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมแก่ผู้มีว่านชนิดนั้นติดติว ว่านบางชนิดทำให้เกิดเป็นเสนียดจัญไรได้ เช่น ว่านดอกทองบางชนิดใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ เช่นว่านน้ำและว่านหางจรเข้ ว่านบางชนิดสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ลอยพุ่งเป็นดวงในเวลากลางคืน นำเอาดวงหน้าคนปลูกไปแสดงด้วย เที่ยวเพ่นพ่านดังภูตผีปีศาจ เช่นว่านกระสือ เป็นต้น ทั้งๆที่ว่านมีอิทธิฤทธิ์ดังกล่าวมาแล้วต่างๆ ก็ยังคงมีผู้สนใจศึกษาในเรื่องของว่านน้อยมาก ทั้งนี้เป็นเพราะขาดการเชื่อถือ และไม่มีผู้รู้ที่สามารถชี้ชัดลงไปว่า ว่านชนิดใดมีรูปร่างลักษณะอย่างใดแน่ ขาดทั้งตัวอย่างสำหรับนักศึกษาพอจะศึกษาตามหลักเกณฑ์ ทางแผนปัจจุบัน ยิ่งในทางสรรพคุณและอิทธิฤทธิ์ของว่านด้วยแล้ว ยิ่งหาผู้ทรงวิทยาคุณชี้ชัดว่า ว่านอย่างนี้มีสรรพคุณทางยาอย่างใดมีอิทธิฤทธิ์อย่างใดให้แน่นอนยากมาก เพราะขาดผู้ชำนาญที่เคยใช้เคยทดลองหรือเคยพบเคยเห็น ส่วนมากมักพูดว่าเคยพบจากตำราหรือท่านว่าแต่อย่างเดียวทั้ง ๆ ที่บรรดาว่านต่าง ๆ ได้ถูกท่านโบราณอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทางคาถาอาคมขลังได้รวบรวมบรรดาหัวว่านสำคัญต่างๆ ตั้ง 108 อย่างทำเป็นผงผสมกับเกษรไม้หอมเช่นพิกุล บุนนาค มะลิ บัวทั้ง 5 ประกอบด้วยผงวิเศษต่างๆ มีผงอิทธิเจ, ผงปถมัง, ผงตรีนิสิงเห, ผงมหาราช, ผงมหานิยม, ผงนะหน้าทอง, ผงอิติปิโส 108, ผงคัมภีร์, กาฝากมะนาว, กาฝากพุด, ไคลโบสถ์, ไคลเสมา, ชานหมากและของอื่น ๆ อีกมากมายหลายอย่าง โดยนำเอามาบดให้ละเอียดระคนรวมกันผสมน้ำมันตังอิ้วปั้นเป็นแท่ง ทำแม่พิมพ์ประทับเป็นองค์พระพิมพ์รูปต่าง ๆ เมื่อแห้งสนิทแล้วจึงนำเข้าพืธีพุทธาภิเศกพร่อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ ทำพีธิปลุกเศกคาถากำกับให้พระพิมพ์เหล่านั้นมีอิทธิ ฤทธิ์ต่าง ๆ ในทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีบ้าง เป็นเมตตามหานิยมบ้างเรียกกันว่าพระเครื่องเป็นต้น และที่พระเครื่องทรงความศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ก็ด้วยอภินิหารของว่าน บรรดาลช่วยเหลือเกื้อกูลพร้อมทั้งคาถาอาคมที่ประกอบเป็น 2 แรงด้วยกัน อิทธิฤทธิ์ของว่านนั้นจะมีคงที่ตลอดไปได้มักเป็นว่านที่ปลูกติดต่อเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนมาแล้วโดยมาก เพราะผู้ปลูกเหล่านั้นทราบเคล็ดลับของการทำให้ ว่านคงทรงอิทธิฤทธิ์อยู่โดยมิเสื่อมคลาย ส่วนว่านที่ขึ้นเองตามป่าเขาโดยธรรมชาตินั้นมักไม่มีใครมีอิทธิฤทธิ์ ทั้งๆ เป็นว่านชนิดเดียวกันอย่างเดียวกัน ในการนี้ถึงแม้จะได้นำเอาว่านมาปลูก ถ้ามิได้ระมัดระวัง โดยปล่อยให้ว่านขึ้นแสะโรยราไปเองตามธรรมชาติหรือปล่อยให้ว่านคงอยู่ในดินตลอดระยะเวลาจนกว่าจะถึงฤดูฝนมาใหม่ว่านก็จะผลิแตกต้นอีก แต่อิทธิฤทธิ์ของว่านนั้นจะเจือจางเสมอลงไปทุกที นานๆ หลายฝนเข้าก็หมดฤทธิ์ไปเอง ทั้งนี้เป็นเพราะธาตุสาร (ปรอท) ในตัวว่านลืมต้น คือ หนีออกไปจากต้นขณะเมื่อว่านโทรมในฤดูแล้ง ถ้าหากได้กู้ว่านขึ้นจากดินภายในเดือน 12 วันอังคาร หรือภายในเดือนอ้ายไม่เกินข้างขึ้นอ่อน ๆ วันพุธเสียก่อนแล้ว คืออย่าให้ว่านคงอยู่ในดินเลยพ้นถึงฤดูนกกาเหว่าหรือนกยูงร้องหาคู่จึงจะไม่เสีย ถ้าปล่อยให้หัวว่านคงอยู่เลยกำหนดฤดูนี้ไป ว่านก็จะเสื่อมอานุภาพลงไปเรื่อย ๆ
อ้างมาจากhttp://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD/